รับราชการ ของ อีริกเซ็นต์ เย ลอสัน

มหาอำมาตย์โท อีริกเซ็นต์ เย ลอสัน รัชราชการครั้งแรกเป็นตำรวจที่ประเทศพม่า และย้ายไปเป็นตำรวจที่ประเทศอินเดีย ทั้ง 2 ประเทศ ขณะนั้นเป็นเมืองขึ้นของประเทศอังกฤษ ในปี พ.ศ. 2447 เดินทางเข้ามา ในสยามและได้รับพระราชทานโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งเป็น ผู้บังคับการกรมกองตระเวน แทนนายเอ.เย.ยาดิน ซึ่งได้ขอลาออกจากราชการเดินทางกลับประเทศอินเดีย[2]

ปรับปรุงกิจการตำรวจ

หลังเข้ารับราชการ อีริกเซ็นต์ เย ลอสัน ได้ดำเนินการเปลี่ยนแปลงแก้ไขกิจการตำรวจหลายประการ เช่น

  • จัดตั้งกองพิเศษ ระบบการทำงานคล้ายคลึงกับ กองสืบสวนคดีของตำรวจ ในกรุงลอนดอน
  • พิสูจน์วัตถุพยาน ด้วยระบบลายพิมพ์นิ้วมือ
  • จัดพิมพ์กฎหมายโปลิศ เป็นภาษาไทย - อังกฤษ
  • ตั้งโรงเรียนพลตำรวจ และโรงเรียนนายตำรวจ
  • ใช้กฎหมายลักษณะอาญาพิจารณาลงโทษผู้กระทำผิด

ในปี พ.ศ. 2452 ประกาศใช้ พ.ร.บ.เกณฑ์ทหารทั่วประเทศ อนุญาตให้ผู้ที่เกณฑ์ทหาร แล้วคัดเลือกให้เข้ารับราชการ เป็นตำรวจได้ โดยจะส่งตัวเข้ารับการ ฝึกอบรมใน ร.ร.พลตำรวจ 1 ปี จึงจะส่งไปรักษาการ เมื่อรักษาการครบกำหนด 2 ปีแล้ว จะพิจารณาผู้ที่มีความประพฤติดี มีคุณสมบัติเหมาะสม ให้รับราชการต่อไปได้ (หลักเกณฑ์นี้ ปรากฏว่าในปัจจุบันยังใช้อยู่)[3]

เครื่องแบบตำรวจ

เมื่อแต่งเครื่องแบบตำรวจในยุคของ อีริกเซ็นต์ เย ลอสัน ได้ใช้ต่อเนื่องเช่นเดียวกับสมัยของ นาย เอ.เย.ยาดิน ทุกประการ นายอีริกเซ็นต์ฯ เป็นผู้รักษาระเบียบวินัยเคร่งครัด มีความเมตตาปราณี เป็นที่รักใคร่แก่ผู้ใต้บังคับบัญชา การบริหารงานตำรวจ เจริญก้าวหน้าเป็นอันมาก จึงได้รับพระราชทานยศเป็น มหาอำมาตย์โท และนายพลตำรวจตรี ครั้งสุดท้ายได้ดำรงตำแหน่งเป็น อธิบดีกรมกองตระเวน